1.เนื้อหา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์...คืออะไร ?
มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความเชื่อและความศรัทธาในอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
แม้จะยังไม่รู้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคืออะไร ? แต่ทุกคนเชื่อว่าสิ่งนั้น...เป็นสิ่งที่มีอำนาจสามารถให้คุณและให้โทษ
ให้เป็นและให้ตายแก่มนุษย์ทุกคนได้ โดยไม่มีใครสามารถหยุดยั้งพลังอำนาจและคำสั่งที่เด็ดขาดนั้นได้
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ที่มียศตำแหน่ง
หรือเทพเจ้าต่างๆที่มนุษย์ตั้งขึ้นมาตามความเชื่อของบรรพบุรุษ
หรือเทพในนิยายปรัมปราที่เล่าขานสืบต่อกันมาถึงความมหัศจรรย์ในอิทธิฤทธิ์
อภินิหารย์ต่างๆ มนุษย์และเทพเจ้าจอมปลอมเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะมีพลัง อำนาจเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่นี้ได้
ความเชื่อ !
มนุษย์ ทุกคนมีความเชื่อและความศรัทธาในแต่ละศาสนา สืบทอดมาจากพ่อแม่
และบรรพบุรุษ ตามเผ่าพันธุ์ที่สืบเชื้อสายต่อกันมา
แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่าพันธุ์ก็มักจะเชื่อว่าสิ่งที่ตนเองศรัทธานั้น
เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นผู้วิเศษ เป็นเทพเจ้าที่เก่งกาจ เป็นผู้ที่มีอำนาจ
จากความเชื่อเหล่านี้ทำให้มนุษย์ตกหลุมพรางสู่ความมืดมน โง่เขลาและงมงาย
จนกระทั่งสติปัญญาที่มีอยู่นั้นไม่สามารถที่จะใช้พิจารณาเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ได้
เมื่อความเชื่อแบบโง่เขลาและงมงายได้ครอบงำความเป็นไปในการดำเนินวิถีชีวิต
ทำให้เกิดความยโส โอหัง เกิดความโลภ ความอยากได้ อยากมีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น
ดังนั้นสังคมจึงเกิดผู้ที่ควบคุมความเชื่อ และผู้ที่จะต้องยอมรับที่จะเชื่อ
ผู้ที่ควบคุมความเชื่อ คือ ผู้ที่บอกว่าตนเองใกล้ชิดเทพเจ้าต่างๆ
หรือเป็นตัวแทนของเทพในนิยายที่มีอำนาจตามที่ได้มีการเขียนบทละครไว้
บางคนอาจถึงขั้นเป็นร่างหุ่นให้เจ้าต่างๆได้มาสิงสู่ ที่มักจะเรียกว่า ร่างทรง
หมอผี หมอดู นักบวช และอื่นๆ บุคคลเหล่านี้แอบอ้างเพื่อให้เกิดการเชื่อฟัง
และเพื่อเป็นหนทางในการแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่รู้จบ รุ่นแล้ว รุ่นเล่า
สืบทอดต่อกันมา
ผู้ที่จะต้องยอมรับที่จะเชื่อ คือ คนธรรมดาๆ ชาวบ้าน แม่ค้า นักเรียน
นักศึกษา นักธุรกิจ มนุษย์ทุกชนชั้นที่เป็นผู้โดนกระทำ
และพร้อมจะเป็นผู้กระทำตามในสิ่งที่เชื่อ เพื่อผลประโยชน์ในความเชื่อของตนเอง
และสิ่งที่คิดว่าจะได้เมื่อทำตาม บุคคลเหล่านี้ตกอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกัน
ความเชื่อของคนไทย
ความเชื่อของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์ ทั้งให้คุณประโยชน์และให้โทษ
แล้วมนุษย์ไม่สามารถค้นหาสาเหตุมาอธิบายได้ ทำให้เกิดความหวาดกลัว
สำหรับบริบทของสังคมไทยในทุกภาคส่วน
มีความเชื่อที่หลากหลาย อันเป็นที่มาของความเชื่อและพิธีกรรมตามประเพณี
มีธรรมเนียมและรูปแบบการปฏิบัติที่แปลกแตกต่างกัน
ความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย
สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มของความเชื่อ ดังนี้
1. ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
เนื่องจากคนไทยนับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ความเชื่อจึงมุ่งเน้นพระรัตนตรัยหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา คือ
ก) ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ใครทำกรรมใดไว้
ผลกรรมนั้นจะตามสนอง ซึ่งมีความเชื่อว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
ข) ความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่
สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเวียนว่ายตายเกิดวัฏสงสาร ตามผลแห่งกรรมของตน
เป็นความเชื่อตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
ค) ความเชื่อเรื่องกฎแห่งธรรมชาติ
ง) ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว
2. ความเชื่อเกี่ยวกับวิทยาคม
เป็นความเชื่อเรื่องสิ่งลึกลับที่เหนือธรรมชาติ ไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แยกออกได้เป็น 2 เรื่อง คือ
ความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา เป็นจำพวกตัวอักษรหรืออักขระที่ผูกเป็นข้อความ ถือว่ามีอำนาจลึกลับแฝงเร้นอยู่
เมื่อนำไปใช้ตามที่กำหนด เช่น คาถาอาคมนำไปบริกรรม เสกเป่าหรือสวด
เชื่อว่าจะเกิดความศักดิ์สิทธิ์หรือเกิดความขลัง
ปัจจุบันความเชื่อประเภทนี้ได้ลดน้อยลง
ด้วยเหตุความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่
ความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง เป็นความเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น
เชื่อว่า สามารถป้องกันอันตราย ยิง แทง ฟันไม่เข้า ตัวอย่างเช่น เหล็กไหล
เขี้ยวเสือ ฯลฯ
3. ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ความเชื่อประเภทนี้น่าจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาแต่อดีต
ส่วนมากจะพบเห็นได้จากพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง พระเครื่อง
รูปเหมือนพระสงฆ์ที่เคารพเลื่อมใส เป็นพระเกจิอาจารย์ อาจกล่าวรวมไปถึงศาลปู่ตา
ศาลหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อ ศาลเจ้าแม่
ความเชื่อประเภทนี้ยังคงมีปรากฏให้เห็นในสังคมไทยยุคปัจจุบัน
4. ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา
สิ่งลึกลับที่มองไม่เห็นตัวตน ถือว่ามีอิทธิฤทธิ์และอำนาจเหนือมนุษย์
สามารถให้คุณให้โทษก็ได้ สิ่งเหล่านี้
ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถหาบทสรุปได้แน่ชัดว่ามีจริงหรือไม่
บางครั้งในสิ่งที่เกิดขึ้นก็มีเหตุอันน่าเชื่อถือ
5. ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ หมายถึง
วิชาว่าด้วยการพยากรณ์ โดยอาศัยดาราศาสตร์เป็นหลัก
ความเชื่อเช่นนี้ปรากฏแพร่หลายในทุกชนชั้นของสังคมไทย จนกระทั่งมีการเรียนการสอน
สืบทอดอย่างเป็นทางการ และยึดถือเป็นอาชีพ บทความดีๆ
ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนกำลังใจในการใช้ชีวิตอยู่ของคนไทย
เพราะคนไทยแต่โบราณมา จะมีการเข้าวัด หรือมีเทศกาลอะไร ก็จะเข้าวัด ทำบุญ
และเชื่อเรื่อง ผีสาง นางไม้ เทวดา มีการบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่อยู่ตามต้นไม้ที่มีอายุยืนยาว มีการสร้างศาลพระภูมิหน้าบ้าน
เพื่อให้ผีบ้านผีเรือน ช่วยปกปักรักษาบ้าน และยังมีการเชื่อเรื่อง ผีในรูปแบบต่าง
ๆ ทำให้คนรู้สึกกลัวไปต่าง ๆ นา ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
อาจจะเป็นที่จิตเราเองก็ได้ ที่นึกไปเอง จินตนาการไปเองในเรื่องเหล่านี้
แต่จะมีคนบางจำพวกที่ หลงงมงายเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องไสยศาสตร์
ดูได้อย่างในปัจจุบันที่มีผู้คนจำนวนหนึ่งเสียเงิน ทองมากมายให้กับหมอดู
เพื่อที่จะทำนายอนาคตตัวเอง ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร มีงานการ เงินทอง เนื้อคู่
เป็นอย่างไร หรือ ในเรื่องไสยศาสตร์การทำเสน่ห์ ให้ผัวรัก ผัวหลง
จนบางครั้งคนที่ไปทำอาจนำพาภัย เข้ามาสู่ตัวเอง กว่าจะรู้ก็สายเกินไปแล้ว
ในความเป็นจริงแล้วความเชื่อเหล่านี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิด แต่ควรจะพิจารณาถึงสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่
มองให้ลึกถึงความเป็นจริง ว่าสิ่งเหล่านี้
เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างระมัดระวังก็จริงอยู่
แต่ควรตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งที่ถูกต้อง
ตัวอย่างของอิทธิพลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย
พระแม่โพสพ
ชาวนาในอดีตรุ่นเก่าที่ทำนาเพื่อเลี้ยงชีพนั้นจะให้ความเคารพแม่โพสพ มีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย เริ่มด้วยดูตามปฏิทินว่าปีไหนวันอะไรเป็นวันดี แล้วต้องดูว่าเป็นวันข้างขึ้นของเดือนนั้น แล้วดูกำลังวันด้วยว่าวันอะไรหันหน้าไปทางไหน ไม่หันหน้าไปตรงกับผีเหล็กเหลาหลวง แล้วเริ่มทำการไถ เมื่อเริ่มฤดูกาลที่จะลงมือทำนา
พระแม่คงคาและประเพณีลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
การบนบานศาลกล่าว
เมื่อพูดถึงการ “บนบานศาลกล่าว” คงคุ้นหูคนไทยกันดีอยู่แล้ว เพราะนี่เป็นอีกความเชื่อหนึ่งที่มีมานานแสนนานเหลือเกิน นับแต่เรามีการกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นสิ่งที่ปฏิบัติตามๆ กันมา เรียกได้ว่าเป็นความเชื่อยอดนิยม ที่ไม่ฮือฮา แต่ทว่าซึมลึกอยู่ในจิตใจคนไทยอีกเช่นกัน
การบนบานศาลกล่าว คือ การขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนเองต้องการอยากจะได้ หรืออยากให้เป็นไป ถ้าท่านช่วยให้สำเร็จแล้วจะมาให้สิ่งตอบแทนตามที่เคยพูดไว้ คือ แก้บน เพื่อให้ความน่าจะเป็นเพิ่มมากขึ้นอีก หากถามว่าเพราะเหตุอะไรคนถึงต้องบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นั่นก็อาจจะแล้วแต่เจตนา บางคนต้องบนเพราะสิ้นหวัง หมดหนทาง ไม่รู้จะแก้ไขปัญหาตรงหน้าอย่าไรแล้ว สุดท้ายจึงต้องหันหน้ามาพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กราบไหว้บูชา ใครแนะนำไปบนที่ไหนก็ไป กับอีกประเภทหนึ่งที่อาจจะบนเพราะความอยากรู้อยากเห็น อยากพิสูจน์ อยากทดสอบ เรียกว่าลองทำดูไม่เสียหลาย และอีกประเภทหนึ่งคือบนแล้วติดใจ เคยได้ดั่งใจหวัง ที่นี้เลยมุ่งมั่นหวังแต่บนอย่างเดียว
ตัวอย่างเช่น พระพรหมโรงแรมเอราวัณ สี่แยกราชดำริ
มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือทั้งชาวไทยและต่างชาติ เชื่อว่าที่นี่จะให้ดีต้องบนบานกันด้านธุรกิจ และนักธุรกิจฮ่องกงบินมาแก้บนแล้วหลายคน และมักจะแก้บนกันด้วยละครรำ
2.แนวคิด
บทความนี้อ้างมาจากแนวคิดนิเวศวิทยามนุษย์ กล่าวคือ " ศาสนาและความเชื่อมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณในแง่ของ การที่มนุษย์อยู่อาศัยในระบบนิเวศ โดยมีขอบเขตของศาสนาและความเชื่อเป็นกรอบ กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์"
3.บทวิเคราะห์
เราได้เห็นแล้วว่า คนไทยมีค่านิยมในการนำเอาแบบอย่างของความห้าวหาญและพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ ตัวอย่างเช่น จปร.เป็นสถาบันทางทหารที่ผลิตนายทหารหลักของชาติทั้งยังมีผุ้ก่อตั้งคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกย่องให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของทุกคนที่มาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ในรั้วกำแพงแดงเหลือง จึงใช้เป็นหลักในใจในการมุ่งทำความดี มุ่งเจริญต่อกัน และก้าวไปในครรลองของคุณธรรมและจริยธรรม
4. สรุป
สังคมไทย มีความเชื่อในลัทธิ ศาสนาต่างๆ ในการบวงสรวงบูชา สร้างสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทพเจ้า โดยแสดงออกถึงนัยที่เกิดจากความกลัวของมนุษย์ขาดที่พึ่ง ตั้งแต่ยุคโบราณกาล ดังนั้นศาสนาและบูรพกษัตรย์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว บำรุงขวัญและกำลังใจ ว่าจะมีการให้คุณหากบูชา และเป็นโทษหากลบหลู่ เช่น เดียวกับ รร.จปร.ที่ต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจ นั่นก็คือองค์รัชกาลที่ 5 พ่อขุนผาเมือง และเจ้าพ่อขุนด่าน
5. websiteอ้างอิง
ผู้จัดทำ นนร.ปัญญวัชร์ วัชรกาฬ ชั้นปีที่ ๒ ตอนกฎหมายและสังคมศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น